วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

อาริสโตเติล (Aristotle)

 
อาริสโตเติล (Aristotle)
อาริสโตเติล (Aristotle)

อาริสโตเติล (Aristotle)
เกิด เมื่อ พ.ศ.159 ที่เมืองสตากิรา ในแคว้นเธรส บิดาชื่อนิฌคมาคุส เป็นแพทย์หลวงประจำราชสำนักของพระเจ้าอะมินตัส กษัตริย์แห่งมาเซโดเนีย เมื่ออายุได้ 17 ปี อาริสโตเติลถูกส่งตัวไปยังเอเธนส์เพื่อเข้ารับการศึกษาในสำนักอะคาเดมีของ พลาโต้

เมื่อพลาโต้ถึงแก่กรรมใน พ.ศ.196 หลานชายของพลาโต้ชื่อสปิวซิบปุสได้เป็นเจ้าสำนักอะคาเดมีคนต่อมา อาริสโตเติลไม่เห็นด้วยกับการที่สปิวซิปปุสกำหนดการเรียนการสอนที่ให้ความ สำคัญแก่คณิตศาสตร์มากเกินไป อาริสโตเติลพร้อมด้วยเพื่อนร่วมสำนักเดินทางออกจากเอเธนส์ ได้ไปพำนักอยู่ที่อัสโซสตามคำเชิญของเฮอร์เมียส อาริสโตเติลได้พบกับภาคิไนยของกษัตริย์เฮอร์เมียส ชื่อพิธิอัส และแต่งงานกับเธอ มีลูกด้วยกัน 1 คนชื่อนิโคมาคุส

อาริสโตเติลประสบมรสุมชีวิตเมื่อพระเจ้าอาเล็กซานเดอร์มหาราชสวรรคต ในปี 220 ชาวเอเธนส์แสดงความเป็นปฏิปักษ์ต่อมาเซโดเนียอย่างรุ่นแรง ใครที่เคยเข้าพวกกับมาเซโดเนียเริ่มถูกลงโทษ อาริสโตเติลจึงตกเป็นเป้าการปองร้ายจากนักการเมืองแห่งเอเธนส์ อาริสโตเติลให้เหตุผลของการหนีจากเอเธนส์มาอยู่ที่เมืองคาลซิลว่า “เพื่อชาวเอเธนส์จะได้ไม่ทำบาปต่อปรัชญาเป็นครั้งที่สอง” เพราะครั้งแรกทำบาปโดยประหารชีวิตโสคราตีส ท่านถึงแก่กรรมด้วยโรคกระเพาะ เมื่อ พ.ศ. 221 ที่เมืองคาลซิส ขณะมีอายุได้ 62 ปี

ก่อตั้งลีเซอุม
ที่เอเธนส์อาริสดตเติลไม่ได้กลับเข้าสำนักอะคาเดมี ได้ตั้งสำนักของตนขึ้นเรียกว่าลีเซอุม เลียนแบบอะคาเดมีของพลาโต้ เหตุที่มีชื่อลีเซอุม เพราะที่ตั้งอันเป็นสวนสาธารณะใกล้วิหารที่ประชาชนสร้างถวายเทพเจ้าอะพอลโล ลีเซอุม อริสโตเติลแบ่งการบรรยายเป็นสองภาค คือ ภาคเช้าเป็นการบรรยายวิชาปรัชญาที่ลึกซึ้งสำหรับนักศึกษาที่มีพื้นฐานความ รู้ดีอยู่แล้ว อาริสโตเติลเป็นเจ้าสำนักลีเซอุมราว 12-13 ปี ในช่วงนี้ชีวิตของท่านรุ่งเรืองถึงขีดสุด งานนิพนธ์ที่สำคัญถูกเขียนขึ้นในระยะนี้

งานนิพนธ์
อาริสโตเติลแต่งหนังสือไว้จำนวนมาก อริสโตเติลได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาของศาสตร์อย่างน้อย 2 สาขา คือ ตรรกศาสตร์และสัตววิทยา

นักปราชญ์ได้แบ่งงานนิพนธ์ของอาริสโตเติลออกเป็น 7 หมวด ดังนี้
  1. หมวดตรรกศาสตร์ หมายถึงเครื่องมือสำหรับแสวงหาความรู้
  2. หมวดวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
  3. หมวดจิตวิทยา ว่าด้วยวิญญาณ , ว่าด้วยความฝัน
  4. หมวดอภิปรัชญา
  5. หมวดจริยศาสตร์
  6. หมวดรัฐศาสตร์
  7. หมวดศิลปะ วาทศิลป์ , กวีศาสตร์
ปรัชญาของอาริสโตเติล
นับตั้งแต่ธาเลสจนถึงอาริสโตเติล ภูมิปัญญากรีกยังมิได้ถูกแบ่งเป็นสาขา วิทยาการทุกแขนงรวมอยู่ด้วยกันและมีชื่อเรียกว่า “ปรัชญา” อาริสโตเติลได้จัดแบ่งศาสตร์ต่างๆ ออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คำว่า “ศาสตร์(Sciences)” เทียบได้กับคำว่า “วิชาการ” ในสมัยปัจจุบัน อาริสโตเติลแบ่งกลุ่มวิชาการออกเป็น 3 ภาค

วิชาการภาคทฤษฎี ได้แก่วิชาที่ศึกษาเพื่อสนองความใฝ่รู้อย่างเดียว แบ่งออกเป็น 3 สาขา
  1. ฟิสิกส์ ศึกษาธรรมชาติ
  2. คณิตศาสตร์ ศึกษาเรื่องการคำนวณที่ยังต้องอาศัยสสาร
  3. อภิปรัชญา ศึกษาความจริงแท้ของสรรพสิ่งโดยไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องสสาร อภิปรัชญาของอาริสโตเติล แบ่งย่อยออกเป็น 2 ส่วน
    --ภววิทยา(Ontology) ศึกษาความจริงแท้ในฐานะที่เป็นภาวะ(Being) ในโลก
    --เทววิทยา(Theology) ศึกษาภาวะในฐานะเป็นปฐมเหตุของการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง
วิชาการปฏิบัติ (Practical Sciences)ได้แก่วิชาที่กำหนดวิธีปฏิบัติการเพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้ แบ่งเป็น 2 สาขาคือ
  1. รัฐศาสตร์(Politics) ศึกษาการจัดองค์การและระเบียบที่ดีให้กับสังคม
  2. จริยศาสตร์(Ethics) ศึกษาเรื่องจริยธรรมของปัจเจกชนในสังคม
วิชาการภาคผลิต (Productive Sciences) ได้แก่วิชาการความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพที่มุ่งผลิตศิลปกรรมต่าง
ตรรกศาสตร์(Logic)
เป็นวิชาที่ศึกษากฎเกณฑ์ของการใช้เหตุผล วิชานี้เกี่ยวข้องกับวิธีการอ้างเหตุผลและหลักเกณฑ์ในการตัดสินความสมเหตุสม ผลของการอ้างเหตุผล

การแสวงหาเหตุผลมาสนับสนุนข้ออ้างเพื่อสร้างความสมเหตุสมผล ทำได้ 2 วิธีคือ
  1. การนิรนัย (Deduction) คือการสรุปจากคนส่วนใหญ่ไปสู่คนส่วนรวม
  2. การอุปนัย (Induction) คือการสรุปจากส่วนย่อยไปสู่ส่วนใหญ่
ตรรกศาสสตร์ของอริสโตเติล
อาริสโตเติลได้ชื่อว่าเป็นบิดาผู้ก่อตั้งวิชาตรรกศาสตร์ ตรรกศาสตร์ที่อารสโตเติลสร้างไว้เป็นระบบก็คือตรรกศาสตร์นิรนัย ส่วยตรรกศาสตร์แบบอุปนัยนั้นเกิดขึ้นห่างกันกว่าสองพันปีโดยฟรานซส เบคอน และจอห์น สจ๊วตมิลล์

ผลงานด้านตรรกศาสตร์ของอาริสโตเติลมีชื่อว่า Orgaon แปลว่า เครื่องมือแสวงหาความรู้ ประกอบด้วยหนังสือ 6 เรื่อง คือ
1. Categories (ปทารถะ) ว่าด้วยประเภทของคำและวลี
2. On Interpretation (เรื่องการตีความ) ว่าด้วยประโยคตรรกและคำถาม
3. Pio Analytics (ปุริมวิเคราะห์) ว่าด้วยการอนุมานและตรรกบท
4. Posterior Analytics (ปัจฉิมวิเคราะห์) ว่าด้วยการประยุกต์ใช้ตรรกศาสตร์ในการแสวงหาความจริง
5. Topics (หัวข้อ) ว่าด้วยวิภาษวิธี
6. On Sophistical Refutations (ว่าด้วยการหักล้างปรัปวาท) เป็นเรื่องเกี่ยวกับเทคนิคการโต้วาที

ปทารถะ
การอ้างเหตุผลต้องแสดงออกมาเป็นภาษา หน่วยย่อยที่สุดของภาษาก็คือคำ (Terms) ปทารถะมี 10 ประการ คือ
  1. สาระ(Substance) หมายถึงสาระทุติยภูมิซึ่งทำหน้าที่เป็นภาคแสดงของประโยค แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
    --สาระทุติยภูมิ (Primary Substance) ได้แก่การแสดงสิ่งเฉพาะต่างๆ
    --สาระทุติยภูมิ (Secondary Substance) ได้แก่สิ่งสากลที่แสดงสกุลของสิ่งเฉพาะ
  2. ปริมาณ(Quantity) ได้แก่คำแสดงปริมาณซึ่งทำหน้าที่เป็นภาคแสดง
  3. คุณภาพ(Quality) ได้แก่คำที่แสดงว่าประธานของประโยคมีลักษณะเป็นอย่างไร
  4. ความสัมพันธ์ (Relation) ได้แก่คำที่แสดงว่าประธานเกี่ยวข้องกับสิ่งอื่นหรือบุคลอื่นอย่างไร
  5. สถานที่ (Place) ได้แก่คำที่แสดงว่าประธานอยู่ที่ไหน
  6. กาล (Time) ได้แก่คำที่แสดงว่าประธานอยู่ในเวลาใด
  7. ลักษณาการ (Postion) ได้แก่คำที่แสดงว่าประธานอยู่ในท่าหรืออิริยาบถใด
  8. สถานะ (State) ได้แก่คำที่แสดงว่าประธานมีสภาพอย่างไร
  9. กัตตุภาวะ (Action) ได้แก่คำที่แสดงว่าประธานกำลังทำอะไร
  10. กัมภาวะ (Affection) ได้ก่ำที่แสดงว่าประธานถูกกระทำอย่างไร
ตรรกบท
ตรรกบท คือ แบบแผนของการอ้างเหตุผล “ตรรกบทเป็นแบบแผน(Form) ของการอ้างเหตุผลที่ประกอบด้วยคำเพียง 3 คำ ซึ่งสัมพันธ์กันอย่างชนิดที่ว่าประโยคตรรก 2 ประโยคแรกรวมกันส่อแสดงนัยถึงประโยคตรรกที่สาม”

ตรรกบทประกอบด้วยประโยคตรรก 3 ประโยค คือ ประโยคข้อตั้งหลัก(Major Premise) และประโยค ข้อตั้งรอง(Minor Premise) และสุดท้ายคือข้อสรุป(Conclu sion)

ตรรกบทมีคำเพียว 3 คำ
  • คำที่หนึ่งเป็นคำหลัก(Major Term) คำที่เป็นภาคแสดง(Predicate) ของข้อสรุป
  • คำที่สองเป็นคำรอง (Minor Term) คำที่เป็นประธาน (Subject) ของข้อสรุป
  • คำที่สามเป็นคำกลาง (Middle Term) ได้แก่คำที่ปรากฏในข้อตั้งหลักและข้อตั้งรอง
สัญลักษณ์ที่ใช้ในตรรกบท
ของอาริสโตเติล นักปรัชญาสมัยกลาง
คำหลัก = A P (Predicate)
คำรอง = B S (Subject)
คำกลาง = C M (Middle)
แผ่นผังที่ใช้ในตรรกบทที่นิยม คือ
M – P
S - M

กฎแห่งความสมเหตุสมผลของตรรกบทมีอยู่ 5 ข้อ คือ
  1. ตรรกบทต้องมีคำเพียง 3 คำ คือ คำหลัก คำรอง และคำกลาง แต่ละคำต้องปารกฎเพียงสองครั้ง ไม่มากไม่น้อยไปกว่านั้น
  2. คำที่กระจายในข้อสรุปต้องกระจายในข้อตั้งด้วย
  3. คำกลางต้องกระจายอย่างน้อยหนึ่งครั้ง
  4. ข้อตั้งทั้งสองจะเป็นประโยคปฏิเสธทั้งคู่ไม่ได้
ถ้าข้อตั้งเป็นประโยคปฏิเสธ ข้อสรุปก็ต้องเป็นประโยคปฏิเสธด้วย
นิรนัยกับอุปนัย
ตรรกบทใดดำเนินตามกฎทั้งห้าข้อ ตรรกบทนั้นมีความสมเหตุสมผล หมายถึงการที่ข้อสรุปรับกันได้รับข้อตั้ง กล่าวคือ เมื่อยอมรับข้อตั้งทั้งสองแล้ว ก็ต้องยอมรับข้อสรุปว่าเป็นผลที่ติดตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ตรรกศาสตร์ให้ความสมเหตุสมผลมากกว่าความจริง

อาริสโตเติลมีทัศนะว่า เนื่องจากตรรกศาสตร์เป็นเครื่องมือแสวงหาความรู้ ดังนั้นตรรกศาสตร์ต้องให้ความจริง แต่ตรรกศาสตร์นิรนัยมีข้อจำกัดตรงที่ไม่สามารถพิสูจน์สัจพจน์ การพิสูจน์หรือการสร้างสัจพจน์เป็นหน้าที่ของตรรกศาสตร์อุปนัย แต่ตรรกศาสตร์อุปนัยมีข้อจำกัดตรงที่ไม่สามารถศึกษาความจริงเฉพาะหน่วยได้ ครบถ้วนทุกกรณี

อภิปรัชญา
อภิปรัชญาได้แก่การศึกษาความจริงแท้ของสรรพสิ่ง นั่นคือภาวะบริสุทธิ์ (Being Qua being) และเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภาวะบริสุทธิ์ อภิปรัชญาของอาริสโตเติลแบ่งออกเป็น 2 สาขา
  1. ภววิทยา (Ontology) คือส่วนที่ศึกษาความจริงแท้ในฐานะที่เป็นภาวะ(Being) ที่ยังมีความสัมพันธ์กับสสาร
  2. เทววิทยา (Theology) หมายถึงส่วนที่ศึกษาความจริงแท้ในฐานะที่เป็นภาวะบริสุทธิ์ซึ่งเป็นปฐมเหตุ ของการเกิดขึ้นและการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งในจักรวาล
ภววิทยา (Ontology)
ความจริงแท้ของสรรพสิ่งก็คือภาวะ (Being) ภาวะคือแบบหรือมโนคติในปรัชญาของพลาโต้ อาริสโตเติลเห็นว่าแบบเป็นสาระ หรือสารัตถะของสรรพสิ่ง อาริสโตเติลได้เสนอแนวคิด 3 ประการคือ แบบและสสาร ภาวะแฝงและภาวะจริง และความเป็นสาเหตุ ประเด็นทั้งสามมีรายละเอียดดังนี้

แบบและสสาร
  1. สสาร(Matter) คือวัตถุดิบหรือวัสดุอันเป็นส่วนประกอบของสิ่งเหล่านั้น
  2. แบบ (Form) คือ โครงสร้างหรือรูปทรงของสิ่งเหล่านั้น

    อาริสโต เติลอธิบายเรื่องแบบและสสารว่า “แบบ” กับคำว่า “สสาร” เป็นคำคู่กัน สสารเป็นที่มาของความหลากหลายและความแตกต่างของสิ่งของที่จัดอยู่ในประเภท เดียวกัน
ภาวะแฝงและภาวะจริง
ภาวะแฝงและภาวะจริงมีความสัมพันธ์กัน สิ่งเฉพาะอย่างหนึ่งต้องมีแบบอยู่จึงเป็นภาวะจริง แต่เมื่อเอาแบบนั้นเทียบกับแบบอื่น สิ่งเฉพาะนั้นก็ยังอยู่ในภาวะแฝง

ความเป็นสาเหตุ (Causality)
เป็นสาเหตุความเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งในจักรวาล คำว่าเหตุหมายถึงการมีส่วนรับผิดชอบ การที่สรรพสิ่งเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงเป็นเพราะเหตุ 4 ประการ คือ

1. วัสดุเหตุ (Material Cause) ได้แก่สสาร
2. รูปเหตุ (Formal Cause) ได้แก่แบบ
3. สัมฤทธิเหตุ (Efficient Cause) ได้แก่ผู้กระทำการ
4. อันตเหตุ (Final Cause) ได้แก่จุดมุ่งหมาย

เทววิทยา (Theology)
ปฐมเหตุแห่งการเคลื่อนไหวคือ พระเจ้าผู้เป็นแบบบริสุทธิ์ พระเจ้าไม่ได้เป็นพระผู้สร้าง แต่พระเจ้าเป็นเพียงผู้ทำให้สรรพสิ่งเคลื่อนไหวโดยที่ตนเองไม่เคลื่อนไหว พระเจ้าคือผู้ที่ทำให้สรรพสิ่งเคลื่อนไหวโดยที่ตนเองไม่เคลื่อนไหว การเคลื่อนไหว หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทุกประการ ไม่ว่าในเชิงปริมาณคุณภาพหรือการเปลี่ยนสถานที่

ปรัชญาธรรมชาติ
“ธรรมชาติ” อาริสโตเติลหมายถึง “ผลรวมของวัสดุทุกอย่างที่เป็นสสารและมีการเคลื่อนไหว ปรัชญาธรรมชาติของอริสโตเติลเป็นอันตวาท ปรัชญาธรรมชาติของอริสโตเติลคือการเคลื่อนไหว(Motion) กาละ (Time) และอวกาศ (Space) การเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งมีอยู่ 4 อย่างคือ

1. การเคลื่อนไหวทางสสาร หมายถึงการเปลี่ยนแปลงด้านเนื้อหาว่าไม่มีสิ่งนั้นสิ่งนี้
2. การเคลื่อนไหวทางปริมาณ หมายถึงการเพิ่มและการลดปริมาณของสิ่งต่างๆ
3. การเคลื่อนไหวทางคุณภาพ หมายถึงการเปลี่ยนแปลงคุณภาพ
4. การเคลื่อนไหวทางสถานที่ หมายถึงการเคลื่อนที่หรือการเปลี่ยนแปลงสถานที่นั่นเอง

ระบบจักรวาล
โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล พระอาทิตย์ พระจันทร์ และดวงดาวทั้งหมดโคจรรอบโลกเป็นวงกลม แบ่งจักรวาลออกเป็นสองส่วน คือส่วนล่างนับตั้งแต่ภายใต้พระจันทร์ลงมาถึงพื้นโลก และส่วนบน นับแต่พระจันทร์ขึ้นไปจนถึงดาวดวงสุดท้ายที่ขอบจักรวาล ศูนย์กลางของจักรวาลคือ โลก

จิตวิทยา
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. อนินทรียสสาร หมายถึงสิ่งไม่มีชีวิตทั้งหลาย
2. อินทรีย์สสาร หมายถึงสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย

แบ่งอินทรียสสารออกเป็น 3 ระดับคือ
  1. ระดับต่ำสุด คือ พืช
  2.  ระดับกลาง คือ สัตว์เดรัจฉาน
  3. ระดับสูงสุด คือ มนุษย์
มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ยอู่ในระดับสูงสุด ซึ่งมีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ
  1. ร่างกายเป็นองค์ประกอบทางสสาร ทำหน้าที่เป็นเครื่องรองรับชีวิต
  2. วิญญาณเป็นแบบของชีวิต มนุษย์ประกอบด้วยร่างกายและวิญญาณ ร่างกายคือสสาร วิญญาณคือแบบ
ระดับของวิญญาณ
อาริสโตเติลแบ่งวิญญาณออกเป็น 3 ประเภทตามระดับพัฒนาการ ดังนี้
  1. วิญญาณของพืชทำหน้าที่ได้อย่างเดียว คือ ดูดซับอาหารหล่อเลี้ยงชีวิต มีชื่อเรียกว่า อาหารวิญญาณ (Nutritive Soul)
  2. วิญญาณของสัตว์เดรัจแนนอกจากจะทำหน้าที่หล่อเลี้ยงชีวิตแล้ว ยังสามารถรับรู้โลกภายนอกด้วยผัสสะ และความรู้สึกได้ เรียกว่า ผัสสวิญญาณ (Sensitive Soul)
  3. วิญญาณของมนุษย์ วิญญาณมนุษย์มีพุทธิปัญญา(Nous) ซึ่งสัตว์เดรัจฉานไม่มี อาริสโตเติลเรียกวิญญาณระดับนี้ว่า พุทธิวิญญาณ (Rational Soul)
สมรถภาพของวิญญาณ
แบ่งระดับของวิญยาณได้ดังนี้
  1. ประสาทสัมผัส (Senses) เป็นความสามารถในการรับรู้โลกภายนอกด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าทาง
  2. ผัสสะร่วม (Common Sense) หมายถึงการรับรู้ร่วมกันของประสาทสัมผัสทั้งห้า
  3. จินตนาการ(Phantasia) ไม่ได้หมายถึงจินตนาการสร้างสรรค์ของศิลปิน แต่หมายถึงจินตนาการของคนทั่วไปที่สร้างภาพเลียนแบบ
  4. เหตุผล (Reason) หมายถึงสมรรถภาพในการคิด เหตุผลมีสองระดับ คือ
เหตุผลแฝง หมายถึงเหตุปลที่มีอยู่ยังไม่มีการคิดถึงแบบ เหตุผลจริง หมายถึงเหตุผลที่รู้จักแบบหรือสิ่งสากล

จริยศาสตร์
จริยศาสตร์ของอาริสโตเติลเป้นอันตวิทยา เพราะถือว่าพฤติกรรมของมนุษย์มุ่งไปที่จุดหมายสูงสุดเดียวกัน อาริสดตเติลจำแนกจุดหมายเป็นสองประเภท
  1. จุดหมายระหว่างทาง หมายถึงจุดหมายเฉพาะหน้าที่มนุษย์ต้องการเพื่อเป็นทางผ่านไปสู่จุดหมายที่ไกลกว่านั้น
  2. จุดหมายปลายทาง หมายถึงจุดหมายสูงสุดที่เป็นจุดจบในตัวเอง โดยๆไม่ต้องนำไปสู่จุดหมายอื่นต่อไป
ความสุขคืออะไร
มีคำตอบสำหรับคำถามนี้อยู่ 3 ประการคือ
1. ความสุขคือความสำราญ(Pleasure)
2. ความสุขคือความมั่งคั่ง(Wealth)
3. ความสุขคือเกียรติยศ(Honour)

ทัศนะของอาริสโตเติล ความสุขเป็นความรู้สึกของวิญญาณไม่ใช่ร่างกาย วิญญาณเป็นแบบของมนุษย์ที่ทำให้มนุษย์ประเสริฐกว่าสัตว์ ความสุขของมนุษย์จึงเป็นความสุขที่เกิดกับวิญญาณ นั่นคือความสุขเกิดจากคุณธรรม

คุณธรรมหมายถึงคุณสมบัติที่ดี คนดีคือคนที่ทำดีหรือมีคุณธรรมเป็นลักษณะนิสัยประจำ คุณธรรมไม่ใช่คุณสมบัติที่มนุษย์มีติดตัวมาตั้งแต่เกิด หากแต่เป็นนิสัยที่มนุษย์ “สร้าง” ขึ้นภายหลัง

คุณธรรมแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
  1. คุณธรรมด้านพุทธิปัญญา หมายถึงความสารถในการใช้เหตุผลเพื่อแสวงหาความรู้เกี่ยวกับสิ่งสากลและเพื่อการคำนวณในวิชาคณิตศาสตร์
  2. คุณธรรมด้านศิลธรรม คือ ความสามารถในการเลือกทำความดีซึ่งเกิดจากการฝึกหัดปฏิบัติจนเป็นนิสัย
ทางสายกลาง
“คุณธรรมคือลักษณะนิสัยในการเลือกทางสายกลาง” คุณธรรมเป็นทางสายกลาง ระหว่างความเกินและความขาด คุณธรรมหมายถึงการควบคุมความรู้สึก ความยุติธรรม หมายถึง ทางสายกลางระหว่างการกระทำต่อผู้อื่นอย่างไม่ยุติธรรม และการกระทำอย่างไม่ยุติธรรม ความยุติธรรมมี 2 ประเภท

1. ความยุติธรรมในการจัดสรร
2. ความยุติธรรมในการแก้ไขความผิด

มิตรภาพ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
  1. มิตรภาพเพื่อผลประโยชน์ คือ ความสัมพันธ์ของคนที่รักกันเพราะมีผลประโยชน์ที่ได้จากกันและกัน
  2. มิตรภาพเพื่อความสำราญ คือ ความสัมพันธ์ของคนที่รักกันที่รูปร่างหน้าตางดงาม
  3. มิตรภาพเพื่อความดี คือ ความสัมพันธ์ของคนที่เป็นคนดีมีคุณธรรมคล้ายกัน ต่างฝ่ายต่างประทับใจในลักษณะนิสัยดีงามลัสติปัญญาของกันและกัน
ชีวิตอุดมคติ
ชีวิตที่มีความสุขคือชีวิตที่ดำเนินหลักคุณธรรม อาริสโตเติลกล่าวว่า “ถ้าความสุขคือกิจกรรมที่ดำเนินตามหลักคุณธรรม จึงมีเหตุผลดีที่จะกล่าวว่า กิจกรรมนั้นควรดำเนินตามหลักคุณธรรมสูงสุด และนี่คือสิ่งที่ดีที่สุด”

ชีวิตมีความสุขเพราะดำเนินตามหลักคุณธรรม ชีวิตจะมีความสุขมากที่สุดถ้าดำเนินตามหลักคุณธรรมระดับสูงสุดในทัศนะของอา ริสโตเติล การคิดคำนึงที่ให้ความสุขมากที่สุดคือการคิดคำนึงถึงพระเจ้า

ปรัชญาการเมือง
มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มนุษย์ไม่สามารถแยกอยู่เป็นหน่วยยอยตามลำพัง เพราะต้องพึ่งพาอาศัยกัน ดังนั้นมนุษย์จึงรวมตัวกันตั้งรัฐขึ้น ภาษาทำให้มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มนุษย์มีการใช้ภาษา มนุษย์สร้างครอบครัวแสวงหาปัจจัยในการดำรงชีพ ครอบครัวมีจำนวนมากรวมกันเป็นหมู่บ้าน

ทัศนะทางการเมืองของอาริสโตเติล 2 ประการ
  1. ทัศนะที่ว่าปัจเจกชนมีความจริงแท้ รัฐไม่มีความจริงแท้ปัจเจกชนมีจุดหมายในตัวเอง
  2. รัฐมีความจริงแท้ ปัจเจกชนไม่ใช่สิ่งที่แท้จริงจึงไม่มีความหมายอะไร
ระบบการปกครอง
จำนวน
ผู้ใช้อำนาจ การปกครองที่ดี
เพื่อประชาชน การปกครองที่เลว
เพื่อผู้ปกครอง
คนเดียว
คณะผู้ปกครอง
ประชาชนส่วนใหญ่ ราชาธิปไตย
อภิชนาธิปไตย
มัชฌิมชนาธิปไตย ทรราช
คณาธิปไตย
ประชาธิปไตย

ระบอบการปกครองที่ดี 3 แบบระบอบการปกครองที่เลว 3 แบบ ได้แก่
  1. ราชาธิปไตย (Royalty) เป็นการปกครองโดยบุคคลคนเดียวผู้มีปัญญาและความสามารถเหนือคนทั่งหลาย
  2. ทรราช (Tyranny) เป็นการปกครองโดยบุคคลคนเดียวใช้อำนาจตามอำเภอใจเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง
  3. อภิชนาธิปไตย (Aristrocracy) เป็นการปกครองโดยอภิชนตั้งแต้สองคนขึ้นไป เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
  4. คณาธิปไตย (Oligarchy) เป็นการปกครองโดยคนกลุ่มน้อยที่มั่งคั่งและมีอำนาจ เพื่อประโยชน์ของพวกพองเดียวกัน
  5. มัชฌิมชนาธิปไตย (Polity) เป็นการปกครองโดยรัฐธรรมนูญเพื่อประชาชนทั้งหมด ใช้อำนาจเพื่อผลประโยน์ร่วมกันประชาชนทั้งหมดมีสิทธิเลือกผู้ปกครอง
  6. ประชาธิปไตย (Democracy) เป็นการปกครองโดยคนจนซึ่งเป็นเสียงส่วนใหญ่ในสังคม เพื่อประโยชน์ของคนจนเท่านั้น
รัฐในอุดมคติ
รัฐในคติของอาริสโตเติลต้องมีลักษณะดังนี้
1. พื้นที่ของรัฐต้องไม่กว้างใหญ่หรือเล็กจนเกินไป
2. พลเมืองของรัฐปฏิบัติหน้าที่ตามวัย
3. การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาพลเมือง

สุนทรียศาสตร์
แบ่งศิลปะออกเป็น 2 ประเภท คือ
  1. ประดิษฐศิลป์ ได้แก่ศิลปะที่มุ่งประดิษฐ์เครื่องมืออุปกรณ์ไว้ช่วยการทำงานของมนุษย์
  2. วิจิตรศิลป์ ได้แก่ศิลปะที่มุ่งเลียนแบบธรรมชาติด้วยการสร้างโลกแห่งจินตนการขึ้นมาเลียนแบบโลกแห่งความเป็นจริง

พลาโต้ (Plato พ.ศ.116-196)

 
พลาโต้ (Plato พ.ศ.116-196)
พลาโต้ (Plato พ.ศ.116-196)

พลาโต้ (Plato พ.ศ.116-196)
พลา โต้มีชื่อเดิมว่า อริสโตคลีส เกิดที่กรุงเอเธนส์ในช่วงเวลาที่เอเธนส์กำลังทำสงครามกับสปาร์ตา ตระกูลของพลาโต้เป็นตระกูลที่สำคัญมากในเอเธนส์ยุคนั้น บิดาของท่านชื่ออริสตอน สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าโคดรุส ผู้เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของเอเธนส์ มารดาของพลาโต้ชื่อเปริคตีโอเน เป็นน้องสาวของชาร์มีเดสและเป็นลูกพี่ลูกน้องกับครีเตียส เมื่อพลาโต้มีอายุได้ 23 ปี ชาร์มีเดสและครีเตียสได้เป็นกำลังสำคัญในการจัดตั้งรัฐบาลชุดสามสิบทรราช หลังจากเอเธนส์พ่ายสงครามให้กับสปาร์ตา

พลาโต้สังกัดอยู่ในวงสมาคมของชนชั้นปกครอง ความใฝ่ฝันในวัยหนุ่มของพลาโต้จึงอยู่ที่อำนาจทางการเมือง พลาโต้ได้ฟังปรัชญาจากโสคราตีสเมื่ออายุได้ 20 ปี นับแต่นั้นพลาโต้ได้ติดตามฟังโสคราตีสเรื่อยมา จนกระทั่งโสคราตีสถูกประหารชีวิต

เมื่อ พ.ศ.139 สงครามระหว่างเอเธนส์กับสปาร์ตายุติลง โดยสปาร์ตาเป็นฝ่ายมีชัยเหนือเอเธนส์ ผลที่ตามมาจากสงครามคือ รัฐบาลประชาธิปไตยของเอเธนส์ได้สูญเสียอำนาจทางการเมืองให้กับรัฐบาล คณาธิปไตยซึ่งนำโดยชนชั้นสูงอย่างชาร์มีเดสและครีเตียส พลาโต้ได้รับการทาบทามจากญาติของตนให้เข้าร่วมบริหารนครรัฐด้วย แต่พลาโต้ก็ได้ตัดสินใจรอดูผลงานของรัฐบาลอยู่วงนอก รออยู่ไม่นานพลาโต้ก็ได้เห็นการบริหารงานที่ผิดพลาดของรัฐบาล มีโสคราตีสคนเดียวเท่านั้นที่กล้าออกปากคัดค้านการใช้อำนาจเผด็จการของ รัฐบาลทรราชนี้ และโสคราตีสอาจจะถูกประหารชีวิตถ้ารัฐบาลชุดนี้ไม่ถูกโค่นล้มหลังจากเสวย อำนาจได้ไม่ทันครบปี

รัฐบาลประชาธิปไตยได้อำนาจปกครองแทนที่รัฐบาลคณาธิปไตยที่ล้มไป พลาโต้หวังว่าสภาพการณ์จะดีขึ้น แต่กลับกลายเป้นตรงกันข้าม รัฐบาลชุดนี้ได้ใช้อำนาจเผด็จการโดยเสียงข้างมาก มีการปฏิบัติการจองเวรกับปรปักษ์ทางการเมืองผู้เคยสนับสนุนรัฐบาลคณาธิปไตย และที่ร้ายสุดในทัศนะของพลาโต้คือ การประหารชีวิตของโสคราตีสผู้ที่พลาโต้เห็นว่า “เป็นคนมีคุณธรรมมากที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่” ความศรัทธาที่พลาโต้เคยให้แก่ระบอบการปกครองของเอเธนส์ได้หมดสิ้นไปนับ ตั้งแต่บัดนั้น พลาโต้เด็กหนุ่มผู้มีอุดมการณ์สูงได้มองเห็นการเมืองยุคนั้นเป็นเรื่องที่ สกปรก

เมื่อโสคราตีสถูกประหารชีวิต พลาโต้เห็นว่าหากตนขืนอยู่ในเอเธนส์ต่อไปฏ้อาจได้รับเคราะห์กรรมเหมือนกับ บริษัทบริวารของรัฐบาลคณาธิปไตยคนอื่นเป็นได้ พลาโต้จึงเดินทางไปยังนครรัฐข้างเคียงชื่อเมการา ได้พบกับยูคริตีสผู้เป็นศิษย์ของโสคราตีสด้วยเช่นกัน ที่เมืองเมการาพลาโต้ได้ศึกษาปรัชญาของปาร์มีเดสอย่างลึกซึ้งจากยูคลิตีส ออกจากเมการา พลาโต้ได้เดินทางต่อไปไซรีนี อียิปต์ อิตาลี และซิซิลี ที่อิตาลี พลาโต้ได้ติดต่อกับสำนักปรัชญาพิธากอรัส และได้ศึกษาปรัชญาสำนักนั้น ส่วนที่ซิซิลี พลาโต้ได้ไปเยือนราชสำนักของกษัตริย์ดิโอนีซิอุสที่หนึ่งแห่งเมืองซีราคิวส์ พลาโต้ได้ผูกมิตรกับดีออน ผุ้เป็นบุตรเขยของพระเจ้าดิโอนีซิอุส มิตรภาพครั้งนั้นเป้นเหตุให้พลาโต้ต้องกลับไปผจญภัยที่ซิซิลีอีก อย่างไรก็ตาม พลาโต้พำนักอยู่ในซิซิลีได้ไม่นานก็ถูกพระเจ้าดิโอนิซิอุสสั่งจับตัวส่งให้ นายพลชาวสปาร์ตาคนหนึ่ง พลาดต้ถูกนำไปขายในตลาดทาสที่เกาะอีจินา แต่ได้รับการไถ่ตัวเป็นอิสระโดยเพื่อนจากไซรีนี รอดพ้นจากการตกเป็นมาสมาแล้ว พลาโต้เดินทางกลับเอเธนส์หลังจากที่ท่องเที่ยวในต่างแดนติดต่อกันนานถึงสิบ ปี

ก่อตั้งอะคาเดมี
กลับถึงเอเธนส์พลาโต้ไม่คิจะนำตัวเข้าไปผูกพันกับการเมืองของเอ เธนส์ ท่านเลือกดำเนินชีวิตอย่างนักปรัชญา อุทิศตัวให้กับการสร้างคนให้เป็นนักปรัชญาแลนักปกครองที่ดี ท่านไม่ได้ออกไปแผ่แพร่ปรัชญาตามย่านชุมชนอย่างที่โสคราตีสทำ พลาโต้ตั้งสำนักศึกษาขึ้นเพื่อให้การศึกษาแก่เยาวชนกรีก พลาโต้ตั้งชื่อสำนักแห่งนี้ว่า อะคาเดมี(Academy) ตามชื่อทำเลที่ตั้งซึ่งเป็นบริเวณสวนสาธารณะที่ชาวเมืองสร้างเป็นที่ระลึก แก่วีรบุรุษชื่ออะคาเดมุส อะคาเดมีเปิดสอนครั้งแรกใน พ.ศ.156 เมื่อพลาโต้มีอายุได้ 40 ปี อะคาเดมีนี้นับว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของกรีกเอกลักษณ์พิเศษของอะคาเดมี อยู่ที่การศึกษาวิจัยด้วยวิทยาศาสตร์ หลักสูตรในอะคาเดมีได้รับการปรับปรุงเสมอ วิชาหลักที่คงอยู่เสมอต้นเสมอปลายได้แก่คณิตศาสตร์และปรัชญาการเมือง

งานหลักของพลาโต้ในอะคาเดมีคือ กล่าวคำบรรยายแก่นักศึกษา ในการบรรยายแต่ละครั้ง พลาโต้ไม่มีต้นฉบับของคำบรรยาย และการบรรยายบางครั้งก็เปิดให้บุคคลภายนอกเข้าฟังได้

ผจญภัยในซิซิลี
พลาโต้อยู่ประจำอะคาเดมีติดต่อกันมา จนกระทั่ง พ.ศ.176 พระเจ้าดิโอนีซิอุสที่หนึ่งสวรรคต พระราชโอรสของพระองค์เป็นกษัตริย์ปกครองซีราคิวส์ต่อมาโดยใช้พระนามว่า พระเจ้าดิโอนนีซิอุสที่สอง เนื่องจากกษัตริย์องค์นี้ยังไม่มีประสบการณ์ในการปกครองแผ่นดิน อำนาจส่วนใหญ่จึงตกอยู่ในมือของดีออนผู้เป็นมิตรของพลาโต้ ดีออนแนะนำให้พระเจ้าดิโอนิซิอุสที่สองมีหนังสือเชิญพลาโต้ไปเป็นพระอาจารย์ ถวายความรู้เรื่องการเมืองการปกครอง พลาโต้ตกลงรับคำเชิญ พลาโต้เดินทางไปซีราคิวส์อีกเพื่อสร้างคนให้เป็นกษัตริย์นักปรัชญาหรือ ธีรราช

ในเบื้องต้นเหตุการณ์ทำท่าว่าจะราบรื่น พระเจ้าดิโอนิซิอุสที่สองต้อนรับพลาโต้ด้วยความกระตือรือร้น บทเรียนแรกที่พลาโต้บรรยายถวายคือวิชาเลขคณิต ไม่นานนักการอบรมของพลาโต้ต้องล้มเหลวเพราะพระเจ้านิโอนีซีอุสทรงเบื่อหน่าย การศึกษา และที่สำคัญคือทรรงริษยาเมื่อเห็นดีออนมีความสัมพันธ์อันดีกับพลาโต้ พลาโต้ต้องกลับเอเธนส์ และต่อมาดีออนได่มาพำนักอยู่กับพลาโต้ที่อะคาเดมี

ความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้าดิโอนิซิอสที่สองกับพลาโต้ยังไม่ขาด สะบั้น กษัตริย์หนุ่มส่งสาส์นรายงานถึงความก้าวหน้าทางการศึกษาของพระองค์แก่พลาด ต้อยู่เสมอ ต่อมาทรงขอร้องให้พลาโต้กลับไปถวายความรู้แด่พระองค์ พลาโต้จึงเดินทางกลับไปซีราคิวส์อีกใน พ.ศ.182 ด้วยความหวังว่าตนจะสามารถปรับความเข้าใจระหว่างกษัตริย์หนุ่มกับดีออน แต่เหตุการณ์กลับทรุดหนักลงไปอีก พระเจ้านิโอนีซิอุสทรงประกาศยึดทรัพย์สินของดีออนและบีบบังคับให้ภรรยาของดี ออนแต่งงานใหม่ พลาโต้จึงขออนุญาตกลับเอเธนส์แต่ถูกหน่วงเหนี่ยวไว้ ชีวิตของพลาโต้ตกอยู่ในหั้วงอันตราย แต่โดยการไกล่เกลี่ยของอาร์คีทัส แห่งตาเรนตุม พลาโต้จึงได้รับอนุญาตใหเกลับเอเธนส์เมื่อ พ.ศ.183 การผจญภัยของพลาโต้จบลงตรงนี้ พลาโต้ถึงแก่กรรมอย่างสงบใน พ.ศ.196

ปรัชญาของพลาโต้
ญาณวิทยาหรือทฤษฎีความรู้
ทฤษฎีความรู้ของพลาโต้มีทัศนะบางอย่างที่เหมือนกับโสคราตีส ประการแรก พลาโต้เห็นว่าความรู้ระดับผัสสะหรือสัญชาน ไม่ใช่ “ความรู้” การรับรู้ในระดับสัญชานเป็นเพียง “ทัศนะ” การปฏิเสธสัญชานว่าเป็นบ่อเกิดความรู้มีเหตุสำคัญอยู่ 2 ประการ คือ
  1. สัญชานของแต่ละคนให้ความรู้ไม่ตรงกัน ความรู้ระดับสัญชานจึงเป็นเพียงทัศนะส่วนตัว
  2. สัญชานไม่ช่วยให้เราค้นพบความจริงแท้ เพราะสิ่งที่เรารับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสเป็นเพียงสิ่งเฉพาะ ความจริงแท้เป็นสิ่งสากล
ทัศนะของพลาโต้ ความรู้ที่แท้จริงไม่ได้มาจากผัสสะหรือสัญชาน แต่ความรู้ที่แท้จริงได้มาจากเหตุผล ข้อแตกต่างระหว่างศิษย์และอาจารย์อยู่ที่ โสคราตีส ความรู้หมายถึงการค้นพบมโนภาพ พลาโต้ ความรู้หมายถึงการค้นพบมโนคติ

วัสดุสิ่งของที่เราพบเห้นอยู่ในชีวิตประจำวันเป็นเพียงสิ่งจำลองมา จากของจริงต้นฉบับ สิ่งที่เป็นแม่แบบหรือต้นฉบับนั้นได้แก่ “แบบ”(Forms) หรือ “มโนคติ” (Ides) สัญชานให้ความรู้เกี่ยวกับมโนคติ พลาโต้กล่าวว่า คนเราจะค้นพบมโนคติได้ก็โดยการคิดแบบวิภาษวิธี จิตมีวิธีทำวิภาษวิธี พลาโต้อธิบายเรื่องนี้ไว้ใน “เส้นแบ่ง” (The Diveded Line)

เส้นแบ่ง
การรู้จักโลกแห่งเหตุผล พลาโต้เรียกว่า “ความรู้” ส่วนการรู้จักโลกแห่งสัญชานเรียกว่า “ทัศนะ” ในกระบวนการแห่งการรับรู้ จิตมีวิธีทำงานที่แบ่งได้เป็น 4 ลักษณะ
  1. จินตนาการ (Imagining) ในขณะที่ตารับสัมผัสกับภาพของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การรับรู้เกิดขึ้น ประสาทตารายงานภาพที่เห็นไปให้จิต ภาพของสิ่งนั้นที่จิตรับรู้ในขณะนั้นเป็นจินตภาพ(Image) การรับรู้จินตภาพเรียกว่า จินตนาการ
  2. ความเชื่อ (Belief) หากเราคิดถึงใครอย่างมาก เราอาจสร้างจินตนาการถึงรูปร่างหน้าตา กิริยาท่าทางของเขา แต่เขาที่เราเห็นในจินตนาภาพย่อมสู้เขาที่เราไปพบปะพูดคุยจริงๆ ไม่ได้ การได้พบตัวจริงถือว่าเป็นควารู้ระดับสัญชาน พลาโต้เรียกความรู้ระดับนี้ว่าความเชื่อ
  3. การคำนวณ (Reasoning) การทำให้พบสิ่งที่เป็นสากลด้วยเหตุผล
  4. พุทธิปัญญา (Perfect Intelligence) หมายถึงสภาพจิตที่รับรู้มโนคติโดยตรง ขั้นนี้จิตเป็นอิสระจากสิ่งที่รับรู้ด้วยประสาทสัมผัส จิตเข้าถึงมโนคติได้โดยไม่ต้องผ่านสัญลักษณ์ พุทธิปัญญาเป็นความรู้ที่แท้จริง เพราะเข้าถึงความจริงสูงสุดคือมโนคติ ความรู้จึงหมายถึงการรู้จักมโนคติ
อภิปรัชญา
อภิปรัชญาของพลาโต้เป็นเรื่องเกี่ยวกับทฤษฎีแห่งมโนคติและจักรวาลวิทยา

มโนคติ
มโนคติได้แก่มโนภาพที่มีอยู่จริงภายนอกความคิด มโนภาพคือสิ่งสากล การรู้จักมโนภาพของสิ่งเฉพาะอันใดเท่ากับรู้จักสิ่งสากลของสิ่งเฉพาะอันนั้น มโนคติคือมโนภาพที่มีอยู่จริงภายนอกความคิด แต่เนื่องจากมโนภาพคือสิ่งสากล สามารถพูดใหม่ว่า มโนคติคือสิ่งสากลที่มีอยู่จริงภายนอกความคิดหรือสิ่งสากลที่เป็นความจริง แบบปรนัย

สิ่งสากลเป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็นหรือรู้ไม่ได้ด้วยประสาทสัมผัส พลาโต้เรียกสิ่งสากลอันเป็นของจริงอมตะนั้นว่ามโนคติหรือแบบ

ลักษณะของมโนคติ
  1. มโนคติหมายถึงสิ่งสากล
  2. มโนคติมีจำนวนมาก
  3. มโนคติเป็นสิ่งที่รู้ได้ด้วยเหตุผล
  4. มโนคติเป็นความจริงปรนัย คือ ความคิดล้วนๆ
  5. มโนคติเป็นสิ่งไม่กินที่ มโนคติเป็นความตฃจริงที่มีอยู่ “ภายนอก” ความคิดของคนเรา
  6. มโนคติไม่ขึ้นกับเวลา เกิดขึ้นได้ทุกขณะ
สรุปเปรียบเทียบมโนคติกับสิ่งเฉพาะ

มโนคติ(Idea) สิ่งเฉพาะ (Particular)
  1. เป็นสิ่งสากล เช่นความเป็นคน หรือคนสากลที่ชี้เฉพาะไม่ได้ เป็นสิ่งที่ชี้เฉพาะได้ว่าเป็นอะไร เช่น โสคราตีส เปริคลีส
  2. ไม่ต้องการที่อยู่อาศัย มีที่อยู่หรือเทศะ
  3. เป็นอกาลิกะคือไม่ขึ้นกับกาละ เป็นกาลิกะคือขึ้นกับกาละมีอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
  4. เป็นวิสังขารคือไม่มีส่วนประกอบ เป็นสังขารคือมีส่วนประกอบ
  5. เป็นนิจจังคือเที่ยงแท้และอมตะ เป็นอนิจจังคือเปลี่ยนแปลงและดับสลายได้
  6. มีเพียงหนึ่งสำหรับสิ่งเฉพาะแต่ละประเภท มีมากมายตามจำนวนของสิ่งเฉพาะในประเภทเดียวกัน
  7. รู้ได้ด้วยเหตุผล รู้ได้ด้วยสัญชาน
โลกแห่งมโนคติ
โลกของมโนคติเปรียบเหมือนปิรามิดที่มีฐานกว้างแต่ยอดแหล่ม มโนคติที่เป็นยอดสุดหรือประธานสูงสูดในโลกแห่งมโนคติ ได้แก่มโนคติแห่งความดี

มโนคติแห่งความดีเป็นมโนคติประเภทกว้างที่สุด จึงครอบคลุมปกครองมโนคติทั้งหมด มโนคติแห่งความดีมีความสำคัญต่อโลกแห่งมโนคติ

มโนคติกับสิ่งเฉพาะ
พลาโต้ได้ทั้งทฤษฏีสองโลกขึ้น คือโลกแห่งผัสสะกับโลกแห่งมโนคติ สิ่งเฉพาะเป็น “สิ่งจำลอง” หรือ “เลียนแบบ (Copy)” ของมโนคติ สิ่งจำลองมีความเป็นจริงน้อยกว่ามดนคติ มโนคติมีความจริงแท้สูงสุด สิ่งเฉพาะไม่มีความจริงในตัวเอง สิ่งเฉพาะขอยืมความเป็นจริงมาจากมโนคติ สิ่งเฉพาะเป็นจริงก็ต่อเมื่อมีส่วนเหมือนมโนคติ สิ่งฉพาะไม่สามารถเลียนแบบมโนคติได้สมบูรณ์ครบถ้วน ดังนั้นสิ่งเฉพาะจึงมีความจริงเพียงบางส่วนเท่านั้น

จักรวาลวิทยา
แก่นแท้ของโลก
แก่นแท้ของโลกแห่งผัสสะไม่ได้เป็นสสาร โลกนี้ไม่มีแก่นแท้ของตัวเอง เพราะโลกแห่งผัสสะเป็นเพียงภาพสะท้อนความเป็นจริงจากโลกแห่งมโนคติเหมือนกับ ดวงจันทร์ที่มีแสงสว่างได้ก็เพราะมันรับแสงจากดวงอาทิตย์แล้วสะท้อนกลับมา โลกแห่งผัสสะคือรอยประทับของมโนคติที่ปรากฏบนสสาร เปรียบเหมือนการประทับตราประจำตำแหน่ง

โลกแห่งผัสสะเกิดจากการที่มโนคติมาปะทะกับสสาร องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดโลกนี้จึงมี 2 ประการ คือมโนคติและสสาร

สสารในปรัชญาของพลาโต้ไม่ใช่สิ่งที่มีรูปร่างตัวตนหรือคุณสมบัติ สำหรับปรัชญาของ พลาโต้ สสารไม่มีคุณลักษณะ ไม่มีรูปร่างตัวตน ไม่เป็นอะไรสักอย่างที่คนเราพอคิดเข้าใจได้ สสารจึงเป็นความว่างเปล่าอย่างยิ่งคือเป็นอภาวะ สสารจึงเป็นหลักการสุดโต่งที่ตรงข้ามกับมโนคติความดีความเป็นและคุณลักษณะ ต่างๆ ในโลกล้วนเนื่องมาจากมโนคติ การประทับตราคือการเกิดโลกแห่งผัสสะ โลกแห่งผัสสะเป็นของเทียม โลกแห่งผัสสะมีความเป็นจริงบางส่วน เพราะมันมีส่วนร่วมกับมโนคติแต่ที่ไม่เป็นจริงอยู่บางส้วนก็เพราะมันมีส่วน ร่วมกับสสาร

แต่สุดท้ายพลาโต้ต้องยอมว่ามีเทพเจ้าอยู่ในปรัชญาของเขา เพราะไม่รู้ว่าใครเป็นผู้ประทับมโนคติลงบนสสาร จึงเกิดตำนานการสร้างโลกขึ้น

ตำนานการสร้างโลก
ในบทสนทนาชื่อ ติเมอุส พลาโต้เขียนถึงการสร้างโลกไว้ว่าพระเจ้าทรงพบว่ามโนคติแยกอยู่ต่างหากจาก สสาร จึงนำแบบหรือมโนคติไปประทับสสารเพื่อสร้างเป็นโลกขึ้น พระเจ้าไม่ได้สร้างมโนคติและสสาร สิ่งทั้งสองมีอยู่ก่อนแล้ว พระเจ้าเพียงทำหน้าที่เป็นสถาปนิกผู้นำเอาสิ่งที่มีอยู่แล้วทั้งสองมาประกอบ เป็นโลกแห่งผัสสะ สิ่งแรกที่เกิดขึ้นมาคือวิญญาณโลก สิ่งที่เกิดตามมาคือธาตุสี่

พลาโต้เชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ดวงดาวทั้งหลายโคจรรอบโลก วิถีโคจรของดวดาวเป็นวงกลม การที่ดวงดาวและโลกเกาะกลุ่มกันอยู่กันเป็นระบบมีระเบียบ เนื่องจากสิ่งเหล่านั้นมีวิญญาณ สำหรับพลาโต้ กฏธรรมชาตินั้นเกิดมาจากวิญญาณโลก

จิตวิทยาของพลาโต้
ประเภทของวิญญาณ
พลาโต้แบ่งวิญญาณออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ คือ
  1. วิญญาณแห่งเหตุผล (Rational Soul) เป็นวิญญาณที่จุติจากโลกแห่งมโนคติมาประจำอยู่ในกายเนื้อ พระเจ้าทรงสร้างวิญญาณส่วนนี้ให้เป็นอมตะ
  2. วิญญาณไร้เหตุผล (Irrational Soul) เป็นวิญญาณที่ประจำอยู่กับร่างกาย เกิดและดับพร้อมกับร่างกาย จึงไม่เป็นอมตะ แบ่งย่อยออกเป็น 2 ส่วนคือ
    วิญญาณฝ่ายสูง เรียกว่าวิญญาณแห่งเจตนารมณ์ (Spirited Soul)
    วิญญาณฝ่ายต่ำ เรียกว่าวิญญาณแห่งความต้องการ (Appetitive Soul)
รวมแล้ววิญญาณของมนุษย์มีอยู่ 3 ส่วนด้วยกัน คือวิญญาณแห่งเหตุผล วิญญาณแห่งเจตนารมณ์ และวิญญาณแห่งความต้องการ สิ่งที่ทำให้มนุษย์ต่างจากสัตว์ก็คือเหตุผล เพราะมนุษย์เท่านั้นมีวิญญาณแห่งเหตุผล

สมมรถภาพของวิญญาณ
  1. สมรรถภาพแห่งเหตุผล วิญญาณแห่งเหตุผลมีสมรถภาพในการใช้เหตุผล จึงทำให้มนุษย์สามารถค้นพบเป้าหมายที่แท้จริงของชีวิต ทำให้มนุษย์ได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ
  2. สมรรถภาพแห่งเจตนารมณ์ มีสมรรถภาพในการสร้างอารมณ์สะเทือนใจและสร้างอุปนิสัยเป็นวิญญาณส่วนที่ที่ มีลักษณะเป็นกลาง คือสามารถพาคนเราไปสู่เป้าหมายตามที่เหตุผลชักนำ
  3. สมรรถภาพแห่งความต้องการ วิญญาณแห่งความต้องการมีอำนาจทำให้เกิดความต้องการ ซึ่งเท่ากับคำว่าสัญชาตญาณในภาษาปัจจุบัน
จริยศาสตร์ของพลาโต้
ประวัติศาสตร์ที่ทำให้พลาโต้ต้องเสนอจริยศาสตร์มีอยู่ว่า โซฟิสต์ได้เผยแพร่คำสอนโจมตีกฏเกณฑ์ทางศีลธรรมที่ชาวกรีกเชื่อถือและปฏิบัติ สืบต่อกันตามประเพณี อันเป็นเหตุมห้ศีลธรรมอันดีงามของประชาชนถูกบ่อนทำลาย พลาโต้จึงเสนอจริยศาสตร์ออกมาหักล้างคำสอนของโซฟิสต์ โดยพยายามตอบปัญหาความดีคืออะไร ความมีอยู่อย่างเป็นอันตนัยหรือปรนัยคนดีต้องมีคุณธรรมอะไรบ้าง

คัดค้านจริยศาสตร์ของโซฟิสต์
โซฟิสต์เฉลยว่า ความดีคือความพึงพอใจหรือความสุขสำราญ หมายถึงการได้ปรนเปรอความสุขทางประสาทสัมผัส คือรับอารมณ์ที่น่าปรารถนาน่ใคร่และน่าพอใจ โซฟิสต์เห็นว่า สิ่งใดจะเป็นสิ่งที่ดีก็ต่อเมื่อสิ่งนั้นก่อให้เกิดความพึงพอใจแก่เรา ความดีคือสิ่งที่เราพึงพอใจหรือชอบใจ ความดีจึงเป็นเรื่องอัตนัยของโซฟิสต์ ความดีก็ไม่จำเป็นต้องมีธรรมอันใด

พลาโต้ไม่เห็นด้วยกับโซฟิสต์ ทัศนะของพลาโต้ ความดีกับความพึงพอใจไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ท่านกล่าวว่า “มีสิ่งที่เป็นความดีและสิ่งที่เป็นความพึงพอใจ แต่...ความพึงพอใจไม่ใช่อันเดียวกันกับความดี และการแสวงหากับวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งทั้งสองก็เป็นคนละอย่าง การแสวงหาความพึงพอใจเป็นอย่างหนึ่ง การแสวงหาความดีก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง” จริยศาสตร์ของโซฟิสต์จึงถูกพลาโต้หักล้าง

ข้อแตกต่างประการสำคัญระหว่างโซฟิสต์กับพลาโต้อยู่ที่ว่าโซฟิสต์สอน ให้คนทำความดีตามความรู้สึกพึงพอใจ แต่พลาโต้สอนให้ทำความดีด้วยเหตุผล ความรู้เป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดในการทำความดี พลาโต้แบ่งคุณธรรมหรือการทำความดีออกเป็น 2 ระดับ คือ คุณธรรมทางสังคมกับคุณธรรมทางปรัชญา

การทำความดีที่พลาโต้ยกย่อง คือการกระทำที่ประกอบด้วยเหตุผล คือมีความรู้ว่าการกระทำนั้นนำไปสู่จุดหมายปลายสูงสุดอันใด เรียกว่าคุณธรรมทางปรัชญา ความดีในปรัชญาของพลาโต้หมายถึง การกระทำด้วยความรู้ สิ่งที่ตนกำลังทำเป็นสิ่งที่ดี นำไปสู่จุดมุ่งหมายสูงสุดอันใด

ความดีสูงสุด คือสิ่งที่เป็นความดีสูงสุดได้แก่ มโนคติแห่งความดี อันเป็นประธานสูงสุดอยู่ในโลกแห่งมโนคติ

คุณธรรม (Virtue)
วิธีปฏิบัติเพื่อให้บรรลุจุดหมาย สูงสุดของชีวิต เรียกว่าคุณธรรม ปรัชญาในทัศนะของพลาโต้หมายถึงการเพ่งพินิจมโนคติ มนุษย์ประกอบด้วยร่างกายกับวิญญาณแห่งเหตุผลและวิญญาณไร้เหตุผล “ความสุข” ในปรัชญาของพลาโต้ หมายถึงการดำรงชีวิตที่ผสมกลมกลืนคุณธรรม คนดี คือผู้ที่มีคุณธรรม 4 ประการ ดังต่อไปนี้
  1. ปัญญา (Wisdom) เกิดจากการใช้สมรรถภาพแห่งเหตุผลวิญญาณแห่งเหตุผล คนมีปัญญาคือผู้ที่รู้จักมโนคติเป็นผู้ที่ใช้เหตุผลกำหนดชี้นำพฤติกรรมของตน
  2. ความกล้าหาญ (courage) ความกล้าหาญที่มีเหตุผลนำหน้า ไม่ใช่กล้าอย่างบ้าบิ่น คนกล้าคือคนที่บุกในคราวที่ควรบุก และถอยในคราวที่ควรถอย
  3. การรู้จักประมาณ (Temperance) เกิดจากการใช้เหตุผลควบคุมความต้องการอันเป็นสมรถภาพของวิญญาณขั้นต่ำสุดให้อยู่ในขีดพอดี
  4. ความยุติธรรม (Justice) หมายถึงความสมดุลภายในใจของบุคคลผู้ที่มีวิญญาณทั้งาสมส่วนทำหน้าที่ของตนประสานงานกันอย่างเหมาะสม
ทัศนะของพลาโต้ คนดีเป็นคนทีมีปัญญา กล้าหาญ รู้จักประมาณ และทรงความยุติธรรม คนจะดีหรือเลวดูกันที่คุณธรรมในใจของเขา

ปรัชญาการเมืองของพลาโต้
รัฐที่ดีควรยึดระบอบการปกครองใด อำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครองควรตกอยู่ในมือใคร อะไรคือคุณธรรมของนักปกครอง ประชาชนควรมีสิทธิเสรีภาพมากเพียงใด คำตอบของพลาโต้ต่อปัญหาดังกล่าว ได้จากบทสนทนาชื่อ อุดมรัฐ (Repulic)

นครรัฐ
สิ่งที่ควรทราบ คือคำว่า “รัฐ” (Polis) พลาโต้หมายถึง “นครรัฐ” ของกรีกโบราณอย่างสปาร์ตาและเอเธนส์ การปกครองที่ดีในรัฐการปกครองของพลาโต้อยู่ในรัฐที่พลาโต้คิดมีอยู่ในรัฐ อุดมคติหรือรัฐในความคิดของพลาโต้

อุดมรัฐ
มนุษย์เป็นสัตว์สังคม เพราะมนุษย์ไม่อาจอย่างลำพังคนเดียว ความจำเป็นทางเศรษฐกิจบีบบังคับให้มนุษย์รวมกลุ่มกันเป็นสังคม เป็นรัฐ รัฐจึงเป็นสถาบันที่จำต้องมี เมื่อมีรัฐขึ้นมาแล้วก็ควรพัฒนารัฐให้ดียิ่งขึ้น พลาโต้ได้เสนอแบบอย่างของรัฐที่ดี สมบูรณ์ เพื่อเป็นเป้าหมายในการพัฒนารัฐต่างๆ จึงเกิดรัฐที่ดีที่สมบูรณ์เกิดขึ้นในรัฐอุดมคติของพลาโต้

รัฐเกิดจากการรวมกลุ่มของบุคคลจำนวนมาก รัฐประกอบด้วยชนชั้น 3 ระดับคือ
  1. นักปกครอง ในอุดมรัฐ อำนาจทางการเมืองทั้งหมดตกอยู่ในมือของนักปกครองซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อย ผู้ผ่านการคัดเลือกเป็นพิเศษเพื่อนำเป็นผู้นำของรัฐ นักปกครองมีหน้าที่ออกกฎหมายและกำหนดนโยบายของรัฐ คุณธรรมของนักปกครอง คือความมีปัญญาหยั่งเห็นมโนคติ หรือนักปกครองต้องเป็นนักปรัชญา รัฐในอุดมคติจะต้องได้คนมีปัญญาหรือนักปรัชญาเป็นผู้ปกครอง
     
  2. พิทักษชน(Guardians) หน้าที่พิทักษชนคือการกวดขันให้ราษฎรเคารพเชื่อฟังกฎหมายที่มาจากนักปกครอง พิทักษชนคือผู้ทำหน้าที่ทหารตำรวจและข้าราชการพลเรือน คุณธรรมประจำพิทักษชนคือความกล้าหาญ
     
  3. ราษฎร เป็นชนชั้นผู้ถูกปกครองซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดในรัฐ คือประชาชนธรรมดาผู้ประกอบการอาชีพการงานต่างๆ เพื่อผลิตสินค้าและการบริการให้แก่รัฐ คุณธรรมของราษฎรคือการรู้จักประมาณ
ความยุติธรรม
ความยุติธรรมเกิดขึ้นในใจของปัจเจกบุคคลต่อเมื่อมีเหตุผล อารมณ์และความต้องการทำงานประสานกลมกลืน ความยุติธรรมในรัฐก็เกิดจากการที่ชนชั้นทั้ง 3 ระดับปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ประสานกลมกลืนกับชนชั้นอื่นๆ ไม่มีการขัดแย้งหรือก้าวก่ายหน้าที่ทุกคนเชื่อฟังกันตามลำดับชั้น

เงื่อนไขที่ช่วยให้เกิดความยุติธรรมคือนักครองและพิทักษชนต้องไม่มี ทรัพย์สินส่วนตัว ไม่มีแม้กระทั่งครอบครัวส่วนตัว ราษฎรเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้มีครอบครัว พิทักษ์ชนจะตรวจตราและจำกัดปริมาณทรัพย์สินของราษฎร เพื่อให้ทุกคนมีความเสมอภาคในด้านเศรษฐกิจยาจกและเศรษฐีจะไม่มีในอุดมรัฐ

สังคมนิยม
ทรัพย์สินทั้งหมดของนักปกครองและพิทักษชนตกเป็นสมบัติส่วนกลาง ที่ทุกคนมีสิทธิใช้ร่วมกัน เหตุที่พลาโต้กำหนดให้เลิกมีทรัพย์สิน เมื่อทุกคนไม่มีผลประโยชน์และการทุจริตคอร์รัปชั่นก็ไม่มี ทุกคนมุ่งไปสู่จุดหมายเดียวกัน การให้สตรีมีความเสมอภาคเท่าเทียมชาย ลัทธิผัวเดียวเมียเดียวไม่มีในอุดมรัฐ

การศึกษา
ในอุดมรัฐ การศึกษาเป็นเครื่องมือในการแบ่งชนชั้น ใครจะสังกัดอยู่ในชนชั้นใด ขึ้นอยู่กับความสามารถในการศึกษาองเขาถึงจะมีระบบชนชั้น การศึกษาในอุดมรัฐมีลำดับชั้น 4 ลำดับดังนี้
  1. เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี จะได้รับการศึกษาเท่าเทียมกันทั้งหญิงและชาย
  2. เมื่ออายุครบ 20 ปี สอบคัดเลือก ผู้สอบตกจะออกไปประกอบอาชีพเป็นชนชั้นราษฎร ผู้สอบได้จะเรียนต่อไปอีก 10 ปี
  3. ครั้นมีอายุครบ 30 ปี มีการสอบอีกครั้งหนึ่ง ผู้สอบตกจะออกไปทำงานหน้าที่ของ พิทักษชน ผู้สอบได้จะเรียนต่อไปอีก 5 ปี
  4. ทุกคนเรียนจบหลักสูตรเมื่ออายุ 35 ปี จากนั้นออกไปฝึกงานอีก 15 ปี จนกระทั่งเมื่ออายุได้ 50 ปี มีสิทธิ์เข้ารับตำแหน่งกษัตริย์นักปรัชญาตามวาระที่หมุนเวียนมาถึง
ระบอบการปกครอง
สรุปรัฐในอุดมคติ ระบอบการปกครองที่ดีที่สุดในทัศนะของพลาโต้คืออภิชนาธิปไตย(Aristocracy) ที่อำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครองตกอยู่ในมือของชนชั้นสูงผู้ถูกคัดเลือกโดยระบบ การปกครองตกอยู่ในมือของชนชั้นสูงผู้ถูกคัดเลือกโดยระบบการศึกษามิใช่ผู้มา จากตระกูลมั่งคั่งหรือผู้ดี พลาโต้ได้สรุประบอบการปกครองของกรีกโบราณไว้ 4 แบบ ที่มีความใกล้เคียงกับรัฐในอุดมคติของพลาโต้มากที่สุดไปหาน้อยที่สุดดังนี้
  1. โยธาธิปไตย (Timarchy) ชนชั้นปกครองเป็นนักรบ ส่วนชนชั้นผู้ถูกปกครองเป็นทาสติดที่ดิน ทาสเหล่านี้คือชนชั้นราษฎรในอุดมรัฐผู้ “ถูกลดฐานะลงเป็นทาสและคนใช้”
  2. คณาธิปไตย (Oligarchy) เป็นการปกครองโดยคนมั่งคั่งเพื่อคนมั่งคั่ง คุณธรรมในสังคมไม่มีความหมาย “เมื่อความมั่งคั่งและคนมั่งมีได้รับการยกย่องในรัฐ คุณธรรมและคนดีย่อมจะถูกเหยียดหยาม
  3. ประชาธิปไตย (Democracy) เป็นการปกครองโดยคนจนเพื่อคนจน ซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของรัฐ “ประชาธิปไตยเกิดขึ้นเมื่อคนยากไร้ได้รับชัยชนะ” เหนือคนมั่งมี ประชาธิปไตยเปิดโอกาสให้คนไร้ประสิทธิภาพปละขาดการอบรมมาปกครองรัฐ
  4. ทรราช (Tyranmy) คือการปกครองโดยนักเผด็จการผู้กดขี่ประชาชนลงทาสในระยะเริ่มแรก ทรราชเป็นวีรบุรุษในสายตาของประชาชน ขึ้นมาจัดระเบียบให้แก่สังคมที่ระส่ำระสายเพราะการใช้เสรีภาพเกินขอบเขตของ ประชาชนในระบอบประชาธิปไตย “ระบอบทรราชเป็นการปกครองที่เลวร้ายที่สุดในบรรดารัฐบาลที่ไร้กฎหมาย เพราะมันสามารถทำอันตรายได้มากที่สุด”
สุนทรียศาสตร์ของพลาโต้
สุนทรียศาสตร์หมายถึงปรัชญาที่เกี่ยวกับความงามศิลปะ ความงามไม่ได้ถูกผูกขาดอยู่กับผลงานของศิลปิน งานด้านศิลปะเป็นสิ่งที่งามเพราะมันเลียนแบบโนคติของความงาม งานด้านศิลปะไม่อาจนับเป็นสิ่งที่งามที่สุด ความงามที่แท้จริงอยู่ในโลกมโนคติ ชีวิตอันประเสริฐคือชีวิตของผู้เพ่งพินิจมโนคติของความงาม ความงามที่สมบูรณ์ไม่ใช่สิ่งที่รู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส แต่เป็นสิ่งที่ต้องเพ่งพินิจด้วยเหตุผลหรือพุทธิปัญญา

ศิลปะ
พลาโต้ไม่ได้ยกย่องเชิดชูศิลปะ ท่านเห็นว่าศิลปะคือการเลียนแบบ งานด้านศิลปะเป็นมายาที่ “หนีห่างจากความจริงถึงระยะ 3 ระยะ” คือ ศิลปะเลียนแบบสิ่งเฉาะ สิ่งเฉพาะเลียนแบบมโนคติ ผู้ที่หลงติดอยู่ในศิลปะจะไม่มีวันเข้าถึงมโนคติซึ่งเป็นความจริงแท้ เป็นเหมือนคนที่หลงชื่นชมอยู่กับเงาของเงา พลาโต้เห็นว่าศิลปะไม่มีคุณค่าในตัวเอง ท่านไม่เชื่อเรื่องศิลปะ ศิลปะที่ดีมีมาตรฐานควรแก่การยอมรับจะต้องเดินตามเงื่อนไข 3 ประการตาที่พลาโต้วางไว้ดังนี้

1. ศิลปะต้องเลียนแบบได้เหมือนของจริงต้นฉบับ
2. ศิลปะต้องส่งเสริมศีลธรรม คือเป็นเครื่องมือสั่งสอนให้ประชาชนรู้จักความดี
3. ศิลปะจะต้องก่อให้เกิดความพึงพอใจ งานด้านศิลปะต้องดึงดูดใจและสร้างความรื่นรมย์

โสคราตีส

โสคราตีส
โสคราตีส
 
โสคราตีส
โสคราตีสเป็นบุคคลที่อุทิศชีวิตเพื่อการแสวงหาความรู้ทาง ปรัชญา นิยมการอภิปรายสนทนาประเด็นปัญหาทางปรัชญาและในที่สุดต้องยอมสละชีวิตเพื่อ ยืนยันอุดมการณ์ทางปรัชญาของตน ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติและปรัชญาของโสคราตีสตกทอดมาถึงยุคปัจจุบันก็เพราะบท สนทนาที่พลาโต้ได้เขียนเอาไว้

ประวัติ
โสคาตีส (Socrates พ.ศ.73-144) เกิดที่กรุงเอเธนส์ บิดาชื่อโวโฟรนิสคุส เป็นช่างแกะสลัก มารดาชื่อเฟนารีเตเป็นหมอตำแย โสคราตีสเรียนวิชาแก่สลักจากบิดาและประกอบอาชีพเจริญรอยตามบิดาอยู่ไม่นานก็ เลิกทำ ต่อมาเมื่อเอเธนส์ประกาศสงครามชิงความเป็นใหญ่กับสปาร์ตา โสคราตีสสมัครเป็นทหารไปรบในกองทัพเอเธนส์ถึง 3 ครั้ง ในการออกรบครั้งแรกที่โปติเดอา โสคราติสได้ช่วยชีวิตอัสซิเบียเดสเอาไว้

โสคราตีสอายุได้ 50 ปี ได้แต่งานกับซานธิปปี มีบุตรด้วยกัน 3 คน ภรรยาของท่านเป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่าปากร้าย โสคราตีสไม่ได้ประกอบอาชีพอะไร ยิ่งแก่ตัวลงท่าก็ยิ่งจน งานประจำของท่านคือออกไปพบปะประชาชน ทุกๆ เช้าโสคราตีสจะออกไปตามท้องตลาดหรือย่านชุมชน แล้วตั้งวสนทนาขึ้นที่นั่น ท่านสนทนากับคนทุกประเภทในทุกเรื่อง ในการสนทนาแต่ละครั้ง โสคราตีสพูดเป็นพระเอกอยู่ตลอดเวลา ท่านเชี่ยวชาญในการตอนคู่สนทนาไปจนมุมจนคำพูด เทคนิคการสนทนาของท่านมีชื่อว่า “วิธีการของโสคราตีส” โสคราตีสจึงเป็นนักพูดขวัญใจของเด็กหนุ่มชาวเอเธนส์ หลายคนฝากตัวเป็นศิษย์ของโสคราตีส ซึ่งท่านก็ถ่ายทอดความรู้ให้โดยไม่เรียกเก็บค่าเล่าเรียนแต่อย่างใด

บั้นปลายชีวิต โสคราตีสพบกับความยุงยาก สาเหตุสำคัญนั้นเนื่องมาจาก ภายหลังที่รัฐบาลทรราชถูกโค่นล้ม รัฐบาลประชาธิปไตยกลับคืนสู่อำนาจโดยความเห็นชอบของสปาร์ตา ผู้มีอำนาจในรัฐบาลชุดใหม่ไม่อาจปฏิบัติการล้างแค้นเอากับคณะสามสิบทรราชโดย ตรง ดังนั้นเป้าแห่งความประสงค์ร้ายจึงเบนไปที่กลุ่มบุคคลผู้เคยสนับสนุนคณะ ทรราช หรือแสดงตัวเป็นปฏิปักษ์กับประชาธิปไตยเนื่องจากโสคราตีสคัดค้านประชาธิปไตย อันไร้สติของเอเธนส์ ประกอบกับโสคราตีสเองได้สร้างศัตรูไว้มากมาย เหตุนี้เองโสคราตีสจึงต้องรับเคราะห์จากการปฏิบัติการจองเวรของนักการเมือง

นักการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยชื่อนีตุส นักกวีชื่อเมเลตุส และนักพูดชื่อไลคอน ได้ร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องโสคราตีสด้วยข้อกล่าวหาว่า โสคราตีสไม่นับถือเทพเจ้าประจำชาติ โสคราตีสสร้างเทพเจ้าองค์ใหม่ขึ้นแทน และโสคราตีสมอมเมาจิตใจเยาวชน ศาลของเอเธนส์ในยุคนั้นเรียกว่า “ศาลประชาชน” เพราะมีผู้พิพากษาถึง 500 คน การตัดสินใช้การลงคะแนนเสียงจากผู้พิพากษา คะแนนเสียงข้างมากเป็นฝ่ายชนะ โจทก์และจำเลยจะต้องพยายามสุดเหวี่ยงในการพูดโน้นำจิตของคณะผู้พิพากษา โจทก์และจำเลยจะต้องพูดสุดเวี่ยงในการโน้มนำจิตใจของคณะผู้พิพากษา โจทก์และจำเลยจะต้องพูดเอง

สุดท้ายโสคราตีสต้องแพ้คดีจึงต้องถูกโทษประหาร ด้วยการดื่มยาพิษ

ปรัชญาของโสคราตีส
ปรัชญาของโสคราตีสเกิดขึ้นมาก็เพื่อหักล้างคำสอนของโซฟิสต์โดยตรง ความคล้ายคลึงกันประการเดียวระหว่างโสคราตีสกับโซฟิสต์ก็คือ ทั้งสองฝ่ายไม่สนใจปรัชญาธรรมชาติที่แพร่หลายอยู่ในสมัยเริ่มต้นของปรัชญา กรีก

โสคราตีสมีทัศนะว่าเหตุผลเป็นเครื่องแสวงหาความรู้ที่ช่วยให้คนเราค้นพบความจริงแบบปรนัยหรือมโนภาพของสิ่งทั่งหลาย

ศัทพ์ที่ใช้ในปรัชญาของโสคราตีสที่ควรรู้คือ สัญชาน(Perception) ได้แก่การรับรู้ที่เกิดจากกรกระทบระหว่างประสาทสัมสัมผัส (Senses) ทั้งห้า สัญชานจึงเป็นความรู้ระดับผัสสะ ความรู้ระดับสัญชานจึงเป็นการรู้จักสิ่งเฉพาะ จินตภาพ(Image)คือภาพของสิ่งเฉพาะที่ปรากฎในใจ มโนภาพ(Concept) คือความรู้จักสิ่งสากล

โซฟิสต์ยอมรับเฉพาะสัญชานเท่านั้นว่าเป็นบ่อเกิดแห่งความรู้ ความรู้ของโซฟิสต์เป็นความรู้จักสิ่งเฉพาะในทฤษฎีนี้ความจริงสากลจึงไม่มี โซฟิสต์ ความรู้เป็นเพียงทัศนะอัตนัย

ทฤษฎีความรู้ของโสคราตีส
ถือว่าเหตุผลเป็นเครื่องมือแสวงหาความรู้ ในปรัชญาของโสคราตีส เหตุผลช่วยให้ค้นพบมโนภาพ ความรู้ทุกอย่างจึงเป็นความรู้ที่ได้มาจากมโนภาพ มโนภาพคือความรู้สากล จะค้นพบมโนภาพได้ก็โดยอาศัยการสร้างคำจำกัดความ(Definition) เพราะมโนภาพหมายถึงสิ่งเดียวกันกับคำจำกัดความ

ปรัชญาของโสคราตีส ความรู้คือการรู้มโนภาพของสิ่งทั้งหลาย ค้นพบมโนภาพของสิ่งต่างๆ ได้โดยอาศัยกรรมวิธีของการสร้างคำจำกัดความ โสคราตีสเชื่อว่าทุกคนมีมโนภาพเกี่ยวกับสิ่งทั้งหลายอยู่แล้ว ท่านไม่ได้ยัดเยียดความรู้ใหม่แก่คนอื่น แต่ท่านช่วยคู่สนทนาให้ค้นพบมโนภาพที่ตนมีอยู่แล้ว งานของท่านจึงคล้ายกับอาชีพของหมอตำแย ท่านเรียกงานของท่านว่า “การผดุงครรภ์ทางปัญญา” เทคนิคการผดุงครรภ์ของท่านมีชื่อเรียกว่า “วิธีการของโสคราตีส”

วิธีการของโสคราตีส
ศิลปะการสนทนาที่โสคราตีสใช้ประคับประคองการสนทนาให้ดำเนินไปสู่คำตอบของ ปัญหาที่กำลังอภิปราย โดยทั่วไปเรียกว่า “วิพาษวิธี(Dialectic)” ซึ่งประกอบด้วยลักษณะสำคัญ 5 ประการ คือ
  1. สังสัย (Sceptical) ไปถามผู้ที่รู้ในเรื่องนั้นและถามข้อสงสัยในเรื่องนั้นกับผู้ที่รู้
  2. สนทนา (Conversation) เพื่อหาคำจำกัดความในการสนทนาหาประเด็นหลักของการสนทนาในเรื่องนั้น
  3. หาคำจำกัดความ(Defintionl) หาคำจำกัดความที่คิดว่าถูกต้องที่สุดเพื่อจะหาสิ่งที่เป็นสากลหรือเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป
  4. อุปนัย(Inductive) การสร้างคำจำกัดความจะเริ่มจากสิ่งเฉพาะไปสู่สิ่งสากลต่างๆ ในสังคม เพื่อมาสร้างเป็นคำนิยาม
  5. นิรนัย(Deductuve) คือ การสรุปจากสิ่งสากลทั่วไปที่คนยอมรับไปสู่สิ่งเฉพาะ
จริยศาสตร์
คนที่มีความรู้ทุกคนจะเป็นคนประพฤติดี คนประพฤติดีเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออก โสคราตีสสกล่าวว่า “ความรู้คือคุณธรรม” (Knowledge is Virtue) นั่นคือ คนที่รู้ผิดชอบชั่วดีย่อมจะทำความดี เป็นไปไม่ได้ที่คนที่รู้ว่าความดีคืออะไรแล้วยังฝืนทำความชั่ว ส่วนคนทำความชั่วก็เพราะขาดความรู้ผิดชอบชั่วดี เหตุนั้น โสคราตีสจึงกล่าวว่า “ไม่มีใครทำผิดโดยจงใจ”

* เหตุที่ทำให้โสคราตีสต้องถูกประหารชีวิตเพราะความเข้าใจผิดที่คิดว่าโสคราตี สเป็นกลุ่มนักคิดของพวกโซฟิส แต่แท้ที่จริงโสคราตีสไม่ได้เป็นกลุ่มโซฟิส ข้อแตกต่างที่ทำให้เห็นว่าโสคราตีสไม่ใช่กลุ่มโซฟิส มีดังนี้
  1. โสคราตีสไม่ได้เก็บค่าเล่าเรียนกับผู้ที่มาเรียนอย่างกลุ่มโซฟิส
  2. ความคิดเห็นเรื่องทฤษฎีความรู้ที่ต่างกัน โซฟิสสัญชานเท่านั้นเป็นบ่อเกิดของความรู้ โสคราตีสเห็นว่าความรู้มาจากการใช้เหตุผล
  3. โสคราตีสไม่ได้เป็นอาจารย์ที่เร่ร่อนไปสอนตามสถานที่ต่างๆ

โปรแทกอรัส (Protagoras พ.ศ.63-133)


ประวัติ โปรแทกอรัสเกิดที่เมืองอับเดรา อันเป็นถิ่นกำเนิดของเดมอคริตุส โปรแทกอรัสบำเพ็ญตนเป็นโซฟิสต์ผู้ท่องเที่ยวสอนศิลปวิทยาการไปตามสถานที่ ต่างๆ โปรแทกอรัสเขียนหนังสือเรือง “ว่าด้วยเทพเจ้า (On the Gods)” หนังสือนี้ขึ้นต้นด้วยประโยคว่า “เมื่อพูดถึงเทพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าไม่อาจยืนยันว่าเทพเจ้ามีจริงหรือไม ” คำพูดนี้ทำให้ชางเอเธนส์ไม่พอใจโปรแทกอรัสลบหลู่เทพเจ้า หนังสือนี้ถูกเผา โปรแทกอรัสหนีออกจากกรุงเอเธนส์ไปเกาะซิซิลี แต่ได้จมน้ำตายระหว่าทาง

ปรัชญาชองโปรแทกอรัส
ปรัชญาของโปรแทกอรัสจัดอยู่ในประเภทญาณวิทยาหรือทฤษฎีความรู้ ทฤษฎีความรู้ของโปรแทกอรัสเกิดจากความสงสัยว่า ทำไมนักปรัชญาในสมัยของท่านจึงให้คำตอบเรืองปฐมธาตุของโลกไม่ตรงกัน เมื่อมีความเห็นแตกต่างกันเข่นนี้ ไม่มีใครรู้ว่าใครถูกใครผิด โปรแทกอรัส จึงกล่าวว่า “มนุษย์เป็นเครื่องวัดสรรพสิ่ง” อะไรจริงหรือเท็จขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแต่ละคน ไม่มีมาตรการตัดสินความจริงอื่นใดนอกไปจากแต่ละคน ความจริงสำหรับโปรแทกอรัสจึงเป็นอันเดียวกับทัศนะอัตนัย (Subjective Opinion) หรือความเห็นเฉพาะบุคคล ท่านไม่แยกออกจากความจริงแบบปรนัย (Objective Truth)

สำหรับโปรแทกอรัส ความรู้เป็นเพียงทัศนะอัตนัยที่แตกต่างไปตามรายบุคคล ท่านไม่ยอมรับความจริงแบบปรนัย ท่านว่าทัศนะของแต่ละคนถูกด้วยกันทั้งนั้น

เนื่องจากโปรแทกอรัสไม่ยอมรับความจริงแบบปรนัย ท่านจึงต้องสรุปว่า ทัศนะของทุกคนเป็นจริงเท่ากัน ไม่มีทัศนะของใครเป็นจริงยิ่งกว่าทัศนะของผู้อื่น จะมีก็แต่ทัศนะที่ถ้าจริงก็จริงเท่ากัน หรือถ้าเท็จก็เท็จเท่ากัน แนวความคิดของโปรแทกอรัสใกล้เคียงกับปรัชยาสำนักปฏิบัตินิยม (Pragmatism) ที่ถือเอาผลดีจากการปฏิบัติเป็นมาตรการตัดสินความจริง

จริยศาสตร์
จริยศาสตร์ ท่านปฏิเสธความดีในตัวเองหรือความดีอันเป็นที่ยอมรับของคนในทุกสังคม ความดีเป็นเรื่องที่คนแต่ละคนกำหนดค่าให้ อะไรที่ว่าดี ก็เพราะมีคนไปกำหนดค่าความดี ท่านสงเสริมให้ทุกคนเคารพกฏหมายประเพณีและปฏิบัติตามบัญญัติทางศีลธรรม ทัศนะแบบปฏิบัตินิยมของโปรแทกอรัสเด่นชัดมากเมื่อมาถึงปัญหาเรื่องการบูชา เทพเจ้า โปรแทกอรัสไม่แน่ใจว่าเทพเจ้ามีจริงหรือไม่ ท่านสนับสนุนให้บูชาเทพเจ้า เพราะคนที่เตารพเกรงกลัวเทพเจ้าย่อมไม่ประกอบกรรมชั่วโดยง่าย

ปรัชญากรีกสมัยรุ่งเรือง

ปรัชญากรีกสมัยรุ่งเรือง
โซฟิสต์

ปรัชญากรีกสมัยเริ่มต้นมาสิ้นสุดที่เดมอคริตุส ปรัชญากรีกสมัยรุ่งเรือง มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงเอเธนส์ มีความเจริญก้าวหน้าถึงขีดสุด เพราะผลงานทางปรัชญาของโสคราตีส พลาโต้ และอาริสโตเติล นักปรัชญาสมัยต้นเป็นนักปรัชญาสายธรรมชาติ เพราะสนใจอยู่กับปัฐญหาของการเกิดองโลกหรือปฐมธาตุของโลก เป็นสิ่งที่ไกลตัวมนุษย์มาก

เมื่อเข้าสู่ยุครุ่งเรืองของปรัชญากรีก นักปรัชญาสมัยนี้สนใจปัญหาในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ซึ่งเป็นปัญหาที่ใกล้ตัว ปัญหาที่ใกล้ตัวมนุษย์กลายเป็นหัวข้อถกเถียงในหมู่นักปรัชญาด้วยอิทธิพลของ นักคิดกลุ่มโซฟิสต์ (Sophists)

คำว่า “โซฟิสต์” แปลว่า ครู ในสมัยที่ปรัชญากรีกรุ่งเรือง โซฟิสต์ได้แก่ครูผู้จาริกไปตามนครรัฐต่างๆ ของกรีก เพื่อสอนศิลปวิทยาการ โซฟิสต์เป็นครูที่ไม่มีโรงเรียนเป็นหลักแหล่ง การสอนของโซฟิสต์มีการเก็บค่าเล่าเรียน คนที่จะเรียนกับโซฟิสต์ได้นั้น ต้องเป็นคนที่มีเงินพอถึงจะได้เรียน วิชาที่สอนมีหลายวิชา เช่น ประวัติศาสตร์ คณิตศาสตร์ ปรัชญา และวาทศิลป์ วิชาที่คนนิยมเรียนมากที่สุดคือวาทศิลป์

โซฟิสต์เป็นครูโดยอาชีพ ไม่ใช่นักปรัชญา โซฟิสต์แต่ละคนทำงานเป็นอิสระจากกัน วิชาที่สอน สอนเน้นหนักไปคนละอย่าง โซฟิสต์ไม่เน้นหนักวิชาปรัชญา ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาไม่สนใจปรัชญาเลย เป็นแค่คนเผยแพร่แนวความคิดทางปรัชญา โซฟิสต์แรกที่มีแนวคิดทางปรัชญาและเป็นที่ยอมรับ คือ โปรแทกอรัส

กำเนิดของพุทธปรัชญา(สรุปพุทธปรัชญา)


กำเนิดของพุทธปรัชญา
กำเนิดของพุทธปรัชญา

กำเนิดของพุทธปรัชญา
พระพุทธเจ้าหรือพระมานเดิมว่า เจ้าชายสิตถะ ผู้เป็นต้นกำเนิดของพุทธปรัชญา
แม้เจ้าชายสิทธัตถะจะทรงสุขสำราญเพียบพร้อมไปด้วยสมบัติ และห้อมล้อมไปด้วยบริ
วารมากมายก็ตาม แต่พระองค์ก็มิได้ทรงหลงหรือคลั่งไคล้อยู่กับสิ่งเหล่านั้น พระองค์ทรงสนพระทัยในปัญหาต่าง ๆ อยู่เสมอ ปัญหาที่กำลังคุกคามต่อประชาชนอยู่ในขณะนั้น ก็คือความทุกข์ยากของประชาชน พระองค์ทรงคิดว่าปัญหาทั้งหลายมีทางที่จะแก้ได้ เจ้าชายสิทธัตถะจึงทรงตัดสินพระทัยออกผนวช ขณะที่พระองค์ทรงมีพระชนมายุได้ 29 พรรษา เพื่อที่จะทำการค้นหาหนทางแก้ความทุกข์ยากทั้งปวง หลังจากที่พระองค์ได้ทรงอธิษฐานการบวชในเพศของบรรพชิตแล้วพระองค์ก็เสด็จ เข้าศึกษาในสำนักของคณาจารย์ที่มีชื่อเสียง สำนักของอาฬารดาบสและอุทกดาบส ก็เป็นสำนักหนึ่งที่พระองค์ได้เคยเข้าไปศึกษามาจนจบแล้ว เมื่อพระองค์ได้ศึกษาค้นคว้าจากสำนักอาจารย์ต่าง ๆ แล้ว พระองค์ก็พบว่าคำสอนและวิธีปฏิบัติของบรรดาอาจารย์เหล่านั้นมิใช่หนทางแห่ง การดับทุกข์ได้หมดสิ้นดังนั้น พระองค์จึงออกมาค้นหาสัจธรรมด้วยพระองค์เอง พระพุทธองค์เข้าสู่ปรินิพพาน ณ เมืองกุสินารา เมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ก่อนที่พระองค์จะเข้าสู่ปรินิพพาน พระองค์ได้ประทานปัจฉิมโอวาทว่า “ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอทั้งหลายให้รู้ สังขารทั้งหลายมีการเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดาเธอทั้งหลาย จงยังกิจของตนและผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด”
พระพุทธเจ้ามิได้ทรงแต่ตั้งให้สาวกรูปใดเป็นศาสดาแทนพระองค์ โดยพระองค์ตรัสว่า พระธรรมวินัยเป็นศาสนาแทนพระองค์ การที่จะเห็นพระพุทธองค์นั้นก็คือการเห็นธรรมวินัย ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า “ใครเห็นธรรมว่าเห็นเรา”
ความหมายและหลักคำสอนพื้นฐานในพุทธปรัชญา
พุทธปรัชญา คือ หลักคำสอนเกี่ยวกับความจริง (สัจธรรม) และหลักปฏิบัติ (จริยธรรม) บางประการของพระพุทธศาสนาที่นำมาศึกษาวิเคราะห์ด้วยการใช้เหตุผลตามวิธีการ ของปรัชญา” ตามคำนิยามนี้หมายความว่า พุทธปรัชญาจะจำกัดวงอยู่ในส่วนที่เป็นศาสนธรรมของพระพุทธศาสนาเท่านั้น 
คัมภีร์ของพุทธปรัชญา
คัมภีร์ที่สำคัญของพุทธปรัชญาเรียกว่า “พระไตรปิฎก” ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่รวมเอาหลักธรรมของพุทธปรัชญามารวมไว้เป็นหมวดหมู่ หลักธรรมเหล่านั้นมีทั้งหมด 84,000 พระธรรมขันธ์ นอกจากนี้ ยังมีหนังสือที่นักปราชญ์ทางพุทธศาสนาได้เขียนขึ้นมามากมาย เช่น พระอรรถกถาจารย์ได้เขียนคำอธิบายข้อความในพระไตรปิฎกขึ้น เรียกว่า “อรรถกถา” พระฎีกาจารย์ได้เขียนหนังสืออธิบายข้อความในอรรถกถาเรียกว่า “ฎีกา” และพระอนุฎีกาได้เขียนหนังสืออธิบายฎีกาอีกต่อหนึ่ง เรียกว่า “อนุฎีกา” นักปราชญ์ทางพุทธศาสนายังเขียนหนังสือเพื่ออธิบายอนุฎีกาอีก เรียกว่า “โยชนา” นอกจากนี้ ก็ยังมีหนังสือที่แต่งขึ้นเพื่ออธิบายหัวข้อธรรมเฉพาะเรื่องอีกเรียกว่า “ปกรณ์วิเสส” เช่น มงคลทีปนี วิสุทธิมรรค เป็นต้น ซึ่งเป็นผลงานการรจนาของพระมหาเถระผู้มีความเชี่ยวชาญในศาสนาพุทธหลักธรรมใน พระไตรปิฎกถือว่าเป็น “พุทธพจน์” หรือ “พระบาลี” คือเป็นถ้อยคำหรือคำพูดที่พระพุทธองค์ตรัสเอง และถือว่าเป็นหลักฐานหรือข้อมูลขั้นที่หนึ่ง (ข้อมูลขั้นต้น) ในการศึกษาหรือนำมาอ้างอิง แต่บางตอนอาจจะเป็นถ้อยคำหรือคำพูดของสาวกบ้าง แต่พระพุทธองค์ก็ทรงรับรองอีกครั้งหนึ่ง
หลักธรรมในพุทธปรัชญาทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์ นี้ แบ่งออกได้เป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ ตามลักษณะของคำสอน พระไตรปิฎก แปลว่า ตะกร้า 3 หมายถึงการจัดหมวดหมู่ของหลักธรรมไว้เป็น 3 หมวดแล้วเรียกชื่อตามหมวดของหลักธรรมนั้น ๆ ได้แก่ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก และแต่ละหมวดก็การแบ่งย่อยออกไปอีก ดังรายละเอียด ดังนี้
ก. พระวินัยปิฎก มีตัวข้อธรรมที่เรียกว่า “พระธรรมขันธ์” ทั้งหมดมี 21,000 พระธรรมขันธ์ แบ่งออกเป็น 5 หัวข้อใหญ่ ๆ คือ
(1) อาทิกรรม (สุตตวิภังค์)
(2) ปาจิตตีย์ (ภิกขุณีวิภังค์)
(3) มหาวรรค
(4) จุลวรรค
(5) ปริวาร
ข. พระสุตตันปิฎก มีหัวธรรมทั้งหมด 21,000 พระธรรมขันธ์ เป็นคำสอนที่ได้มาจากการบันทึกการเทศนาของพระพุทธเจ้า รายละเอียดในแต่ละเรื่องจะบอกว่าพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ใด มีใครเป็นผู้สดับธรรม ทรงแสดงธรรมเรื่องอะไร และเมือจบพระธรรมเทศนาแล้ว ปรากฏผลอย่างไรบ้าง พระสุตตันตปิฎกแบ่งออกเป็น 5 คัมภีร์ใหญ่ ๆ คือ
(1) ทีฆนิกาย
(2) มัชฌิมนิกาย
(3) สังยุตตนิกาย
(4) อังคุตตนิกาย
(5) ขุททกนิกาย
ค. พระอภิธรรมปิฎก มีหัวข้อธรรมทั้งหมด 42,000 พระธรรมขันธ์ เป็นคำสอนเกี่ยวกับปรมัตถธรรมล้วน ๆ เป็นชั้นสูง ละเอียดลึกซึ้ง การพรรณนาหรือการอธิบายไม่ระบุบุคคล สถานที่ และกาลเวลา แบ่งออกเป็น 7 คัมภีร์ คือ
(1) สังคณี
(2) วิภังค์
(3) ธาตุกถา
(4) ปุคคลบัญญัติ
(5) กถาวัตถุ
(6) ยมก
(7) ปัฏฐาน
พุทธธรรมที่สำคัญ
พระพุทธเจ้าไม่ทรงสอนอภิปรัชญาที่ขาดจากภาคปฏิบัติ พระองค์จึงไม่ทรงเน้นเรื่องเกี่ยวกับปัญหาอภิปรัชญาในสมัยนั้นนิยมคิดกัน แต่ทรงสอนเน้นในเรื่องการปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์เป็นสำคัญ การที่พระองค์ทรงเพิกเฉยต่อปัญหาอภิปรัชญาก็ด้วยเหตุผลที่ว่า การถกเถียงในเรื่องของโลกว่า เที่ยงหรือไม่? เป็นต้น ตามทัศนะของพุทธเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อการพ้นทุกข์ ไม่ใช้เหตุที่จะนำมหาชนเข้าสู่จุดหมายปลายทางแห่งชีวิตอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม แม้พระพุทธองค์ทรงไม่พยากรณ์ในเรื่องทั้งหลายดังกล่าว แต่ในพุทธธรรมที่พระองค์ตรัสไว้ก็เป็นการตอบปัญหาในเรื่องอภิชญาอย่างชัดเจน อยู่ในตัวแล้ว ซึ่งจะได้กล่าวถึงพุทธธรรมบางหัวข้อ เป็นต้นลำดับ ดังต่อไปนี้
ทุกข์เป็นสำคัญ การที่พระองค์ทรงเพิกเฉยต่อปัญหาอภิปรัชญาก็ด้วยเหตุผลที่ว่า การถกเถียงในเรื่องของโลกว่า เที่ยงหรือไม่? เป็นต้น ตามทัศนะของพุทธเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อการพ้นทุกข์ ไม่ใช้เหตุที่จะนำมหาชนเข้าสู่จุดหมายปลายทางแห่งชีวิตอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม แม้พระพุทธองค์ทรงไม่พยากรณ์ในเรื่องทั้งหลายดังกล่าว แต่ในพุทธธรรมที่พระองค์ตรัสไว้ก็เป็นการตอบปัญหาในเรื่องอภิชญาอย่างชัดเจน อยู่ในตัวแล้ว ซึ่งจะได้กล่าวถึงพุทธธรรมบางหัวข้อ เป็นต้นลำดับ ดังต่อไปนี้
อริยสัจ 4 (The Four Noble Truths)
อริยสัจ แปลตามอักษรว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของท่านผู้ประเสริฐ (อริยะ) หรือ ความจริงอันทำให้บุคคลเป็นผู้ประเสริฐ ดังนั้น ผู้ใดรู้แจ้งเห็นจริงในอริสัจ ผลนั้นก็จะกลายเป็นพระอริยบุคคลหากจะกล่าวโดยสรุป คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดอาจประมวลลงในอริยสัจ เป็นต้นว่า หลักขันธ์ 5 หลักไตรลักษณ์ หลักธรรมและหลักปฏิจจสมุปบาท เป็นอาทิ ล้วนแต่เป็นเรื่องของทุกข์สัจทั้งสิ้น การที่พระพุทธองค์ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ก็เพราะทรงตรัสรู้อริยสัจ 4 นี่เอง ด้วยเหตุนี้ อริยสัจ 4 จึงมีความสำคัญมาก อาจกล่าวได้ว่า อริยสัจ 4 เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาทีเดียว
ที่มา.Bcoms